ตัดต่อวีดีโอ
Video Editing
Iรู้จักกับมาตรฐานไฟล์วีดีโอและเสียง
มาตรฐานของวิดีโอแบบต่าง ๆ
มาตรฐานของวิดีโอมีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ VCD , SVCD และ DVD ซึ่งคุณภาพของวิดีโอก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท โดยแต่ละรูปแบบก็มีคุณสมบัติดังนี้
VCD (Video Compact Disc)
VCD เป็นรูปแบบของวิดีโอที่ได้รับความนิยมกันโดยทั่วไปประกอบด้วยภาพและเสียงแบบดิจิตอล ความจุของแผ่น VCD โดยปกติจะอยู่ที่ 74/80 นาทีหรือประมาณ 650/700 เมกกะไบต์ โดยได้รับการเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 1 มีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 352 x 288 พิกเซลในระบบ PAL และ 352 x 240 พิกเซลในระบบ NTSC คุณภาพของวิดีโอใกล้เคียงกับเทป VHS ซึ่งสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นวีซีดีโดยทั่วไปหรือจากไดรฟ์ซีดีรอมของเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผ่นซีดีที่ใช้เขียน VCD ได้ก็จะมีอยู่ 2 แบบคือแผ่น CD-R ซึ่งเป็นชนิดที่เขียนข้อมูลได้ครั้งเดียว และแผ่น CD-RW ที่สามารถเขียนและลบเพื่อเขียนข้อมูลลงไปใหม่ได้ แต่แผ่น CD-RW มักจะอ่านไม่ได้จากจากเครื่องเล่น VCD หลายๆรุ่น
SVCD (Super Video Compact Disc)
SVCD เป็นรูปแบบของวิดีโอที่คล้ายกับ VCD แต่จะให้คุณภาพของวิดีโอทั้งในด้านภาพและเสียงที่ดีกว่า โดยเข้ารหัสมาจากเทคโนโลยีของ MPEG – 2 จะมีความละเอียดของภาพอยู่ที่ 482 x 576 พิกเซลในระบบ PAL และ 480 x 480 พิกเซลในระบบ NTSC ซึ่งแผ่นประเภทนี้ยังมีเครื่องเล่น VCD หลาย ๆ รุ่นที่อ่านไม่ได้ โดยจำเป็นต้องอ่านจากเครื่องเล่น DVD หรือ VCD บางรุ่นที่สนับสนุนหรือเล่นจาก CD – ROM จากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น
DVD (Digital Versatile Disc)
DVD เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่ให้คุณภาพของวิดีโอสูงทั้งด้านภาพและเสียงซึ่งมากกว่ารูปแบบของ VCD หลายเท่าตัว โดยให้ความละเอียดของภาพอยู่ที่ 720 x 480 พิกเซลในระบบ PAL และ 720 x 576 พิกเซลในระบบ NTSC โดยมาตรฐานของแผ่น DVD ก็มีหลายประเภท เช่น DVD + R/RW , DVD – R/RW , DVD + RDL และ DVD + RAM ซึ่งความจุของแผ่น DVD ก็มีให้เลือกใช้ตามชนิดของแผ่น โดยมีตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ไปจนถึง 17 กิกะไบต์ ทำให้สามารถบันทึกภาพยนตร์ทั้งเรื่องได้อย่างสบาย ซึ่งคาดการณ์กันว่าสื่อประเภท DVD คงจะเข้ามาแทนที่ VCD ได้ในไม่ช้า
รูปแบบของไฟล์เสียงชนิดต่าง ๆ
ในการบันทึกเสียงในระบบ Hard disk Recording จะมีรูปแบบของการเก็บข้อมูลเสียงมากมาย และแต่ละรูปแบบก็สามารถเปลี่ยนไปมากันได้ บางรูปแบบที่มีการบีบอัด เมื่อเปลี่ยนกับมาเป็นรูปแบบที่ไม่มีการบีบอัดก็จะได้คุณภาพเสียงเหมือนที่บีบอัดไปแล้ว เพราะมีการสูญเสียคุณภาพสัญญาณไปในขั้นตอนของการบีบอัดไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้โปรแกรมดนตรีมักจะเก็บข้อมูลเสียงดังนี้
AIFF
ย่อมาจาก Audio Interchange File Format เป็นรูปแบบที่ใช้กันมากกับโปรแกรมบน Mac เพราะ Apple เป็นผู้ริเริ่ม เป็นได้ทั้งMono และ Stereo ความละเอียดเริ่มต้นที่ 8 Bit/22 kHz ไปจนถึง 24 bit/ 96 kHz และมากกว่านั้น
MP3
เป็นรูปแบบที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน ในฐานะที่คุณภาพเสียงที่ดีในขณะที่ข้อมูลน้อยมาก ประมาณ 1 MB ต่อ เพลงความยาว 1 นาทีแบบ Stereo ซึ่งเป็นการบีบอัดโดยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเสียง และตัดเสียงที่หูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยินโดยอ้างอิงจากงานวิจัย Psychoacoustic แต่ไม่สามารถให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าเสียงแบบ Full Bandwidth หรือ Hi-fi ได้ เพราะมันเป็นการบีบอัดที่สูญเสียหรือเรียกว่า “Lossy Technology” ถึงแม้ว่าเจ้าของค่ายเพลงในเมืองไทยหรือทั่วโลกไม่ชอบมัน แต่ในเมื่อมันคุ้มค่าสำหรับเก็บไว้ฟังหรือส่งต่องานให้เพื่อน โปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่ก็ให้เราสามารถ import /export งานเป็น MP3 ได้
QuickTime
แม้ไม่ได้เป็นรูปแบบของการเก็บข้อมูลเสียงโดยเป็นโปรแกรมเล่น media ที่พัฒนาโดย Apple แต่โปรแกรมดนตรีบางตัวก็สามารถ Save หรือ Load ข้อมูลเสียง , Video , MIDIเป็น File ของ QuickTime ได้สิ่งสำคัญที่ควรรู้อีกอย่างก็คือข้อมูลเสียงที่ save มาจาก QuickTime หรือโปรแกรมที่ Compatible กับ QT อย่าง TC Works Spark อาจจะเป็นไฟล์ Extension อย่าง .mov , .aif หรือ .WAV ก็ได้ แต่ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องนี้ เนื่องจากโปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่จะสามารถเล่นไฟล์ QT โดยไม่สนใจว่าจะเป็นไฟล์Extension แบบไหนก็ตาม
RealAudio
คนชอบฟังเพลงบน Internet คงรู้จักกันดี ไฟล์ RealAudio จะแสดง Extension เป็น .ra หรือ .rm ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบRealSystem G2 ไว้สำหรับการเล่น multimedia จาก RealNetworks ซึ่งจะมี Tools ในการเล่น, encode รวมไปถึง tools ในการทำ serverให้ใช้ฟรี ๆ ในการส่ง Audio, Video, Animation ผ่านเวป แต่แม้ว่าโปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่จะไม่ใช้ RealAudio ในการบันทึก แต่กับบางโปรแกรม เราสามารถเก็บงานของเราเป็น RealAudio เพื่อใช้บนเว็ป ซึ่งแน่นอน ว่า RealAudio ก็เป็น Lossy Format เหมือนกับ MP3
REX
เป็นไฟล์เสียงของโปรแกรม Propellerhead Recycle ซึ่งเป็นโปรแกรมที่แบ่งไฟล์เสียงประเภท Loop (เป็นวลีดนตรีหรือจังหวะที่สามารถเล่นซ้ำไปเรื่อย ๆ ต่อเนื่องกันได้) ออกเป็นชิ้น ๆ เช่นเสียงกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือ ไฮ-แฮท ซึ่งไฟล์ที่ถูกแบ่งเหล่านี้สามารถนำไปใช้กับ Sampler แล้ว Trigger โดย MIDI Sequence ที่สร้างขึ้นมาโดย Recycle เช่นกัน ทำให้เราสามารถที่จะเร่งหรือลดความเร็วโดยที่ pitch ของเสียงไม่มีการเปลี่ยนเลย ซึ่งเป็นหลักการเดียวกันกับ Technology Groove Control จาก Spectrasonics และ ILIO ครับ แต่ต่างกันตรงที่ Groove Control นั้นมีการเตรียมไฟล์ที่หั่นไว้แล้วกับ MIDI โดยทาง Spectrasonics เอง ไม่รู้ว่า ทาง Spectrasonics จะใช้ Recycle ทำรึเปล่านะครับ ไฟล์ REX เองมี Extension อยู่หลายอันเลยอย่าง .rx2 (Recycle 2.0 หรือสูงกว่า).ryc และ .rex ซึ่สร้างมาจากเวอร์ชันแรก
Sound Designer II
โด่งดังมาจาก โปรแกรม Sound Designer Stereo Editing จาก Digidesign และใช้กับ Pro Tools ด้วย Sound Designer II หรือ SD IIสนับสนุนไฟล์เสียงที่ความละเอียด ต่าง ๆ เหมือนกับ WAVและ AIFF โปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่ก็จะมีคุณสมบัติในการแปลงไฟล์WAV หรือ AIFF มาเป็น SD IIWAV ถูกสร้างขึ้นจากการรวมตัวกันของ Microsoft กับ IBM WAV format สามารถใช้ได้กับ bit depths และ sample rate ในระดับต่างกัน ในขณะที่ AIFF เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ PC ด้วย ในเร็วๆนี้ Acidized WAV files ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีก นี่คือชนิดของ WAV files ที่รวมข้อมูลของ pitch กับ tempo เข้าไว้ด้วยกัน Acidized WAV สามารถถูกอ่านได้โดย Sonic Foundry Acid และโปรแกรมอื่นๆที่สามารถให้ samples ที่จัด pitch and tempo ได้โดยอัตโนมัติ
การบีบอัดเสียง
มี 2 ประเภท คือ Lossless กับ Lossy
1. Lossy Audio
ไฟล์ประเภทนี้ คือไฟล์ที่ถูกลดบั่นทอนคุณภาพลงมา เพื่อแลกกับขนาดไฟล์ที่เล็กลง (เหมือน Winzip) นามสกุลที่เรามักได้เจอกันบ่อยๆก็คือ .MP3 แต่ถึงแม้จะบอกว่า .MP3 เหมือนกันแต่ก็มี Bitrate ที่แตกต่างกัน เช่น 93kbps, 126kbps, 198kbps อันนั้นก็คือระดับคุณภาพของไฟล์นั่นเองครับ ยิ่งมีเลขที่เยอะ ก็คุณภาพดีขึ้นตามไปด้วย แต่ก็แลกมาด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง (สังเกตุง่ายๆพวกแผ่นผี Vampire มักจะยัดเพลงลงได้เยอะๆ เพราะเน้นแต่ Bitrate ต่ำๆนั่นเอง)
ถามว่า Bitrate ที่ต่างกัน มันจะมีผลอย่างไร ตอบได้เลยครับว่าแตกต่างมาก เพราะเพลงที่ Bitrate ต่ำ มันก็เหมือนอัดมาไม่ละเอียด ตอนฟังเราจะรู้สึกเสียงอับๆ ฟังแล้วอึดอัด เสียงแตกๆบ้างก็มีครับ
พูดมาถึงขนาดนี้แล้วหลายๆคนคงจะเกลียด .MP3 กันไปเลย แต่จริงๆแล้วนั้นคุณภาพของไฟล์ MP3 ก็ไม่ได้ขี้เหร่มากนัก เพราะถ้าหาก Rip ไฟลืจาก CD แท้ มาที่ 320kbps นั้นก็ถือว่าคุณภาพใช้ได้เลยทีเดียว ถ้าหูไม่เทพจริงก็แยกกันไม่ออกหรอกครับ
ปล. มาถึงนี่หลายๆคนคงคิดจะลักไก่เอา โดยการเอาไฟล์ Bitrate ต่ำๆลองมาแปลงเป็น Bitrate สูงๆ อันนี้บอกได้เลยครับว่าเปล่าประโยชน์ เพราะการทำแบบนี้ คุณภาพเสียงที่ได้ก็จะอ้างอิงจากต้นฉบับ Bitrate ต่ำๆเหมือนเดิม แถมขนาดไฟล์ที่ได้ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย
2. Lossless Audio
ไฟล์ประเภท Lossless Audio คือไฟล์ที่ไม่ได้ผ่านการถูกบีบอัด หรือไฟล์ที่ปราศจากการสูญเสีย คุณภาพเสียงจะเท่าเทียมกับพวกแผ่น CD ต้นฉบับที่วางขาย สมมุติ CD แผ่นนึงมีความจุ 500mb ไฟล์ Lossless 1 อัลบั้ม ก็มีขนาด 500mb เกือบเท่า CD 1 แผ่นเลย ไฟล์ชนิดนี้เป็นที่นิยมสำหรับกูรูนักฟังที่ฟังเพลงกันเป็นชีวิตจิตใจครับ
ข้อดีของไฟล์ Lossless นั้นนอกจากจะได้คุณภาพเสียงที่ดีแบบสุดๆแล้ว ยังมีข้อดีที่ Lossy ทำไม่ได้อีกก็คือ การแปลงไฟล์จาก Lossless ไป Lossless นั้นไม่ได้บั่นทอนคุณภาพลดลงไปเลย สำหรับการหาไฟล์ Lossless นั้นก็สามารถ Rip ได้จากแผ่น CD ต้นฉบับโดยตรงเลยครับ ผ่านโปรแกรมต่างๆเช่น iTunes แต่โดยส่วนตัวผมแนะนำโปรแกรม EASY CD-DA Extractor จะดีกว่าครับ
ปล. ขอเพิ่มเติมอีกนิดนะครับ การแปลงไฟล์จาก MP3 ไปเป็น Lossless นั้นไม่มีประโยชน์นะครับ เพราะเหมือนกับเอาผ้าขาดๆออกมาขยายให้ใหญ่ขึ้น สุดท้ายยังไงมันก็ขาดอยู่ดี เสียงที่ได้ก็ไม่ดีอยู่เหมือนเดิมครับทีนี้เรามาดูกันแบบละเอียดอีกนิดนึงดีกว่าครับ ว่ารูปแบบไฟล์เสียงที่เรานิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีไฟล์ชนิดไหนกันบ้าง
AIFF
ย่อมาจาก Audio Interchange File Format เป็นรูปแบบที่ใช้กันมากกับโปรแกรมบน Mac เพราะ Apple เป็นผู้ริเริ่ม เป็นได้ทั้ง Mono และ Stereo ความละเอียดเริ่มต้นที่ 8 Bit/22kHz ไปจนถึง 24 bit/96kHz และมากกว่านั้น
WAVE
ไฟล์เสียง wave เป็นไฟล์เสียงที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ไฟล์ประเภทนี้มีนามสกุล .wav จัดเป็นไฟล์เสียงมาตรฐานที่ใช้กับ Windows คุณสมบัติที่สำคัญคือครอบคลุมความถี่เสียงได้ทั้งหมด ทำให้คุณภาพเสียงดีมาก และยังให้เสียงในรูปแบบสเตอริโอได้อีกด้วย ข้อเสียคือไฟล์ .wav มีขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเก็บข้อมูลมาก
CDA (CD Audio)
ไฟล์ CDA เป็นไฟล์เพลงบนแผ่น CD ที่ใช้กับเครื่องเล่น CD ทั่วไป ไฟล์ประเภทนี้เมื่อนำมาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำหรับเล่น CD จะมองเห็นข้อมูลเสียงในรูปของแทร็กเสียง (Audio Tack) แต่ถ้าดูด้วย Windows Explorer จะเห็นเป็นไฟล์มีนามสกุล .cda ไฟล์ CDA มีคุณสมบัติทางเสียงเหมือนกับไฟล์ wave คือให้คุณภาพเสียงที่ดีเป็นธรรมชาติ จึงนิยมใช้บันทึกลงบนแผ่น CD เป็นสื่อดนตรี เรียกทั่วไปว่า “CD เพลง” ถ้าต้องการ copy หรือนำไฟล์ประเภทนี้มาใช้งานกับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ จะต้องแปลงให้เป็นไฟล์ wave หรือไฟล์ที่โปรแกรมประยุกต์นั้นๆรู้จักเสียก่อนจึงจะใช้ได้ หรืออาจจะใช้โปรแกรมที่สามารถ Extract ไฟล์ Audio CD ออกมาเป็นไฟล์ wave ซึ่งก็มีใช้หลายโปรแกรม เช่น Sound Forge, Ware Lab
FLAC
ไฟล์ FLAC ย่อมาจากคำว่า Free Lossless Audio Codec เป็นฟอร์แมตเพลงชนิดที่เป็นแบบ lossless คือไม่เสียคุณภาพของเพลงไป ได้รับการยอมรับว่าคุณภาพของเสียงที่ได้นั้นอยู่ในขั้น “ไฮ-ไฟ” หรือที่เราคุ้นกับคำว่า “ไฮ-เอ็นด์” ที่สำคัญไฟล์ในรูปแบบนี้ก็ยังเป็น open source ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ใดๆให้ต้องระแวง สามารถหาฟังกันได้แบบฟรีๆ ไฟล์ชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อลดข้อจำกัดของเพลงในรูปแบบ .wav ที่มีขนาดใหญ่ แต่ไม่สามารถเก็บ Metadata (ข้อมูลต่างๆของไฟล์เพลง) ซึ่งไฟล์ FLAC นั้นคล้ายๆกับการเอา .wav มาทำการ Zip ไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และทำการคลาย Zip ในขณะเล่นเพลงด้วย Codec ที่ฝังอยู่ในโปรแกรมเล่นเพลงต่างๆ โดยไฟล์รูปแแบบ FLAC นี้สามารถลดขนาดจากไฟล์ .wav ลงได้ถึง 50-60% ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บ และยังมีคุณภาพเสียงที่คงเดิมอยู่
MP3ไฟล์เสียง MP3 เป็นไฟล์เสียงยอดนิยมในปัจุบัน มีนามสกุล .mp3 เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูลทำให้ไฟล์ประเภทนี้มีขนาดเล็กลงมาก ลดลงประมาณ 10 เท่าเมื่อเทียบกับไฟล์ wave คุณภาพเสียง mp3 ค่อนข้างดีจึงนิยมใช้ไฟล์ประเภทนี้บันทึกข้อมูลเพลงลงบนสื่อคอมพิวเตอร์หรือ แผ่น CD การเล่นไฟล์ mp3 บนเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้โปรแกรมโดยเฉพาะซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกมากมาย นอกจากนี้ยังสามารถเล่นได้กับเครื่องเล่น VCD ,DVD, CD ติดรถยนต์, เครื่องเล่น MP3 แบบพกพา (ใช้หน่วยความจำเฉพาะ เช่น Flash Memory หรือ memory Stick) รวมทั้งโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆอีกด้วย
RealAudio
คนชอบฟังเพลงบน Internet คงรู้จักกันดี ไฟล์ RealAudio จะแสดง Extension เป็น .ra หรือ .rm ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ RealSystem G2 ไว้สำหรับการเล่น multimedia จาก RealNetworks ซึ่งจะมี Tools ในการเล่น, encode รวมไปถึง tools ในการทำ server ให้ใช้ฟรีๆ ในการส่ง Audio, Video, Animation ผ่านเวป แต่แม้ว่าโปรแกรมดนตรีส่วนใหญ่จะไม่ใช้ RealAudio ในการบันทึก แต่กับบางโปรแกรม เราสามารถเก็บงานของเราเป็น RealAudio เพื่อใช้บนเว็ป ซึ่งแน่นอนว่า RealAudio ก็เป็น Lossy Format เหมือนกับ MP3
OGG
เป็นรูปแบบของไฟล์เสียงใหม่ล่า สุด มีชื่อเต็มคือ Ogg มีนามสกุล .ogg ไฟล์ Ogg Vorbis ใช้เทคโนโลยีการบีบอัดไฟล์แบบใหม่ ทำให้ไฟล์ที่ได้มีขนาดเล็กกว่า MP3 เสียอีก แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าและที่สำคัญคืออยู่ในกลุ่มของ Open Source Project ทำให้กลายเป็นฟรีแวร์ อีกทั้งยังมีความสามารถด้าน Streaming ด้วย ทำให้ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เล่นอินเตอร์เน็ต ไฟล์ Ogg Vorbis สามารถเล่นได้โดยใช้โปรแกรมสำหรับเล่นไฟล์ MP3 โดยมีข้อแม้ว่าโปรแกรมนั้นจะต้องมี Plug-in สำหรับ Ogg ด้วย Ogg Vorbis นับเป็นคลื่นลูกใหม่ของวงการไฟล์เสียง เพราะมีขนาดที่เล็กมาก สามารถเข้ารหัสเสียงได้หลายแบบทั้ง mono,stereo จนถึงระบบ 5.1 Surround Sound
MIDI
ไฟล์เสียง MIDI ไฟล์ข้อมูลเสียงดนตรี โดยมีนามสกุล .midi จะบรรจุข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ให้เสียงดนตรี เมื่อเล่นไฟล์ MIDI ก็จะเป็นการสั่งให้อุปกรณ์นั้นๆให้มีเสียงดนตรีออกมา เมื่อนำมาเรียงกันก็จะกลายเป็นท่วงทำนองดนตรีซึ่งก็คือเสียงเพลงนั่นเอง MIDI มีขนาดของไฟล์ที่เล็กมากทำให้นิยมใช้ในการเก็บข้อมูลที่เป็นเสียงดนตรี ดังจะเห็นได้จากวงดนตรีประเภทเล่นคนเดียว จะใช้ข้อมูลเพลงจากแผ่นดิสก์ขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลดนตรีได้เป็น 10 เพลง ใส่เข้าไปในเครื่องสร้างเสียงดนตรี (Sequencer) เพื่อให้สร้างเสียงเพลงตามข้อมูลดนตรีที่อ่านจากแผ่น สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถเล่นไฟล์ MIDI ได้โดยใช้โปรแกรมประเภท MIDI Player ซึ่งมีให้เลือกใช้มากมาย เสียงเพลงที่ได้จากโปรแกรมคาราโอเกะก็เป็นเสียงที่ได้จากไฟล์ MIDI เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราจึงสามารถนำเสียงเพลงจากโปรแกรมคาราโอเกะมาใช้ได้ แต่ถ้าจะให้สะดวกก็ควรแปลงให้เป็น wave เสียก่อนจะทำให้สามารถนำไปตัดต่อและใช้งานได้ง่ายขึ้น
WMA
ไฟล์ WMA เป็นรูปแบบไฟล์แบบหนึ่งของบริษัทไมโครซอฟต์ ชื่อเต็มคือ Windows Media Audio เป็นไฟล์ทีมีนามสกุลเป็น .wma จัดได้ว่าเป็นคู่แข่งของ mp3 และ Real Audio เพราะมีคุณสมบัติด้านการ Streaming เช่นเดียวกัน แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่าในขณะที่ขนาดของไฟล์เล็กกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ทำให้ใช้เวลาน้อยกว่าในการดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ต เมื่อก่อนการเล่นไฟล์ประเภทนี้ต้องเล่นผ่านโปรแกรม Windows Media Player เท่านั้น แต่ปัจจุบันมีโปรแกรมหลายโปรแกรมที่สามารถเล่นไฟล์นี้ได้
AAC
ไฟล์ AAC มาจาก Advanced Audio CODEC เป็นรูปแบบไฟล์บีบอัดอีกรูปแบบหนึ่งที่นับวันจะได้รับการยอมรับ และจะเป็นรูปแบบไฟล์แห่งอนาคต โดยมีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า MP3 แต่มีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า มี bit-rates ต่ำกว่า
M4A
ไฟล์ M4A เป็นมาตรฐานที่พัฒนามาจาก AAC โดยทางผู้ผลิตคือบริษัท Apple ได้สร้างมาตรฐานนี้ขึ้นมา ให้ใช้กับโปรแกรม iTune โดยมีความสามารถในการบีบอัดได้หลายขนาดและทางบริษัท Apple ต้องการให้ฟอร์แมตนี้ ขึ้นมาแทนที่ฟอร์แมต AAC เดิม โดยนอกจากความสามารถในการบีบอัดที่มีประสิทธิภาพมากกว่าแล้ว m4a ยังมีความสามารถ ในการรองรับ Tagging Standard นั่นคือสามารถเก็บชื่อเพลงและชื่ออัลบั้มได้ ซึ่งความสามารถนี้ในฟอร์แมต AAC ไม่มี
DSD
ไฟล์ DSD นั้นย่อมาจาก Direct Stream Digital เป็นเครื่องหมายการค้าของ Sony และ Philips สำหรับรูปแบบสัญญาณเสียงที่ใช้ใน Super Audio CD สิ่งที่ทำให้ DSD แตกต่างจากสัญญาณเสียงแบบอื่น ๆ ที่เราฟังกันอยู่ทั่วไปคือ DSD จะใช้การเข้ารหัสแบบ PDM หรือ Pulse-density modulation แทนแบบ PCM หรือ Pulse-code modulation ที่เราเคยเจอกัน โดย DSD ตอนนี้จะมี Sampling rate ที่ 2.8 MHz และ 5.6 MHz ซึ่งเชื่อว่าการเข้ารหัสสัญญาณเสียงแบบนี้จะทำให้คงคุณภาพของสัญญาณได้เหมือนดั่งสัญญาณเสียงต้นฉบับเลยทีเดียว